ประวัติความเป็นมา

ประวัติ

องค์การบริหารส่วนตำบลนาไหม  เดิมเป็นสภาตำบลนาไหม  ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ. 2537  และประกาศกระทรวงมหาดไทย  ลงวันที่  19  มกราคม  พ.ศ. 2539  ได้ยกฐานะสภาตำบลตามมาตรา 40  และมาตรา  41  แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ. 2537  เป็นผลให้สภาตำบลนาไหมเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลนาไหม  ตั้งแต่วันที่  20  มีนาคม  2539  เป็นต้นมา

อาณาเขต

  • ตำบลนาไหม     อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี  มีพื้นที่ติดต่อกับส่วนต่างๆ  ดังนี้
  • ทิศเหนือ          ติดต่อกับตำบลถ่อนนาลับ  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี  และ ตำบลนาหนัง  อำเภอโพนพิสัย                                                จังหวัดหนองคาย
  • ทิศใต้             ติดต่อกับตำบลนาคำ  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี
  • ทิศตะวันออก     ติดต่อกับตำบลบ้านดุง  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี
  • ทิศตะวันตก      ติดต่อกับตำบลสร้างคอม  และตำบลหินโงม  อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี

ขนาดพื้นที่

ตำบลนาไหม     มีเนื้อที่ประมาณ  115.47  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 64,222 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ

องค์การบริหารส่วนตำบลนาไหม  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง  ประมาณ  10 – 15  เปอร์เซ็นต์  ของพื้นที่ทั้งหมด เดิมเป็นดินปนทราย  และดินปนลูกรัง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีความเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์

การปกครอง

หมู่บ้าน

จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มหมู่บ้าน  มีจำนวนทั้งสิ้น  13  หมู่บ้าน

จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. ที่ไม่เต็มหมู่บ้าน (บางส่วน)     –   หมู่บ้าน

ตำบลนาไหม    มีกำนันตำบลนาไหม ชื่อ  นายวีระพงษ์  แพงบุตรดี 

                   โดยแบ่งเขตการปกครองพื้นที่จำนวน 13 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่ทั้งสิ้นของหมู่บ้าน(ไร่)
1 บ้านนาไหม นายจิรพงศ์  คำสุขดี 4221
2 บ้านผึ้ง นายสัญชัย  ทามะฤทธิ์ 6239
3 บ้านนาขี้นาค นายเพียรชัย  พาไหม 5,819
4 บ้านกุดดู่ นายมนัส  ศรีสุธรรม 4,406
5 บ้านท่าบ่อยาง นายมังกร  จิระชาติ 4,776
6 บ้านวังคางฮูง นายดวงจันทร์  ทุยโทชัย 5,008
7 บ้านนาคำวัง นายชาติชาย  แสวงผล 5,599
8 บ้านสุวอ นายวีระพงษ์ แพงบุตรดี 4,377
9 บ้านแสนอุดม นายไพฑูรย์  ยุงชัยสง 5,017
10 บ้านเมืองนาซำ นายคำสอน พิมพ์บูรณ์ 4,616
11 บ้านศรีบุญทัน นายสุดสยาม อุตรธรณ์ 4,766
12 บ้านโนนประเสริฐ นายธนาวุธ โทหา 4,436
13 บ้านทุ่งกว้างพัฒนา นายเตียง พลแสง 4,942
รวม 64,222

 

ประชากร

ประชากรที่อยู่อาศัยยู่จริง

ประชากรรวมทั้งสิ้น  10,475  คน   แยกเป็นชาย  5,253  คน  หญิง  5,222 คน

หมู่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนประชากร จำนวนหลังคาเรือน

(หลัง)

ชาย(คน) หญิง(คน) รวม(คน)
1 บ้านนาไหม 184 170 354 103
2 บ้านผึ้ง 510 503 1010 249
3 บ้านนาขี้นาค 377 384 761 215
4 บ้านกุดดู่ 382 366 748 216
5 บ้านท่าบ่อยาง 285 277 562 131
6 บ้านวังคางฮูง 525 535 1,060 316
7 บ้านนาคำวัง 598 591 1,189 312
8 บ้านสุวอ 279 266 545 162
9 บ้านแสนอุดม 478 480 958 228
10 บ้านเมืองนาซำ 483 442 925 233
11 บ้านศรีบุญทัน 400 399 799 203
12 บ้านโนนประเสริฐ 294 308 602 179
13 บ้านทุ่งกว้างพัฒนา 458 501 959 250
รวม 5,253 5,222 10,475 2,803

ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2563

 ระบบเศรษฐกิจ

อาชีพ

อาชีพหลัก   ประชากรส่วนใหญ่  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  เช่น  ทำนา  ทำไร่  ทำสวน  เลี้ยงสัตว์  และคิดอัตราการทำงาน  คิดเป็นร้อยละ 84.8  ของการทำการเกษตรทั้งหมด  รองลงมาคือการทำไร่  คิดเป็นร้อยละ  7.0  อันดับสามคือการทำสวนยางพารา  คิดเป็นร้อยละ  1.9  จะเห็นได้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของตำบลนาไหมประกอบอาชีพเกษตรกรรม  เนื่องจากภูมิประเทศ  เป็นที่ราบสูง  และภูมิอากาศร้อนชื้นเหมาะสมแก่การปลูกพืช  และเลี้ยงสัตว์

อาชีพรอง   ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพรอง  คือ  การรับจ้างทั้งในและนอกพื้นที่  แต่ส่วนใหญ่จะมีการอพยพไปทำงานนอกพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่  คือการทำงานก่อสร้าง  และบางส่วนก็ไปทำงานยังต่างประเทศ  ซึ่งสามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้มาก

 

ข้อมูลด้านสังคม

ด้านการศึกษา

ทางด้านการศึกษาตำบลนาไหม  มีโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา  1  แห่ง  และระดับชั้นประถมศึกษา  จำนวน  7  แห่ง  คือ

  1. โรงเรียนนาไหมพิทยาคม ฯ ตั้งอยู่พื้นที่  หมู่ที่  8  บ้านสุวอ  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

  1. โรงเรียนบ้านน้ำผึ้งประชาสรรค์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2  บ้านผึ้ง  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

  1. โรงเรียนบ้านกุดดู่อุดมวิทย์ ตั้งอยู่ที่  หมู่ที่  4  บ้านกุดดู่  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

  1. โรงเรียนบ้านท่าบ่อยาง ตั้งอยู่ที่  หมู่ที่  5  บ้านท่าบ่อยาง  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

  1. โรงเรียนบ้านวังคางฮูง ตั้งอยู่ที่  หมู่ที่  6  บ้านวังคางฮูง  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

  1. โรงเรียนบ้านนาคำวัง ตั้งอยู่ที่  หมู่ที่  7  บ้านนาคำวัง  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

  1. โรงเรียนบ้านเมืองนาซำ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่  10  บ้านเมืองนาซำ  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

  1. โรงเรียนบ้านนาไหม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่  11  บ้านศรีบุญทัน  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน  9  ศูนย์  คือ

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุดดู่ (ถ่ายโอนจาก สปช.) ตั้งอยู่พื้นที่ หมู่ที่  4  บ้านกุดดู่  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านน้ำผึ้งประชาสรรค์ (ถ่ายโอนจาก สปช.) ตั้งอยู่พื้นที่ หมู่ 2 บ้านผึ้ง

ตำบลนาไหม  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านท่าบ่อยาง (ถ่ายโอนจาก สปช.) ตั้งอยู่พื้นที่ หมู่ที่  5  บ้านท่าบ่อยาง

ตำบลนาไหม   อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านทุ่งกว้างพัฒนา (ถ่ายโอนจาก พัฒนาชุมชน) ตั้งอยู่พื้นที่ หมู่ที่  13

บ้านทุ่งกว้างพัฒนา  ตำบลนาไหม  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีสุวอ (ถ่ายโอนจากกรมศาสนา) ตั้งอยู่พื้นที่ หมู่ 8  ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ (ถ่ายโอนจากกรมศาสนา) ตั้งอยู่พื้นที่ หมู่  7 บ้านนาคำวัง

ตำบลนาไหม  อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีบุญทัน (ถ่ายโอนจากกรมศาสนา) ตั้งอยู่พื้นที่ หมู่ 11 บ้านศรีบุญทัน

ตำบลนาไหม   อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

8. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังคางฮูง ตั้งอยู่พื้นที่  หมู่  6  บ้านวังคางฮูง    ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง  จังหวัดอุดรธานี

9. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาซำ ตั้งอยู่พื้นที่  หมู่  10   บ้านนาซำ   ตำบลนาไหม

อำเภอบ้านดุง    จังหวัดอุดรธานี

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

          ศาสนา

          – ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาคริตส์

         สถาบันและองค์กรทางศาสนา

วัด                    24      แห่ง        สำนักสงฆ์               5        แห่ง

โบสถ์                5      แห่ง          คริสตจักร               1        แห่ง

เมรุ                  4        แห่ง

ที่ สถาบัน/

องค์กรทางศาสนา (วัด)

ที่ตั้ง ที่ สถาบัน/

องค์กรทางศาสนา (วัด)

ที่ตั้ง
1 วัดโพธิ์ศรี ม.1 16 วัดป่าแสนอุดม ม.9
2 วัดศิริชัยเจริญ ม.2 17 วัดป่าเถรภูมิ ม.10
3 วัดโนนสวรรค์ ม.2 18 วัดเทพประดิษฐ์ ม.10
4 วัดพิลาวัลย์ธิยาราม ม.3 19 วัดศรีบุญทันบำรุงธรรม ม.11
5 วัดป่าพิทักษ์ธรรม ม.3 20 วัดศรีนวลวนาราม ม.12
6 วัดศรีมงคลประดู่ ม.4 21 วัดป่าโนนจำปา ม.12
7 วัดศรีบุญเรือง ม.5 22 วัดคำอีเก้ง ม.4
8 วัดป่าเทพสถิตย์ ม.5 23 วัดศรีโนนเรือง ม.13
9 วัดอุดมมงคล ม.6 24 วัดคริสต์ ม.13
10 วัดป่าสถิตย์ธรรม ม.6      
11 วัดสุวรรณภูมิ ม.7      
12 วัดป่านาคำวัง ม.7      
13 วัดศรีสุวอ ม.8      
14 วัดโพธิ์ทองวราราม ม.8      
15 วัดสมหาสามัคคี ม.9      
รวมทั้งหมด  24  แห่ง

 

ประเพณี

– ประเพณีที่สำคัญในตำบล คือ ประเพณีบุญบั้งไฟ

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่  อบต.  จะค่อนข้างสมบูรณ์  ตลอดจนดินมีความเหมาะสมในการเพาะข้าว  และพืชสวน

–  พื้นที่ป่าสาธารณะทั้งหมด   2,000   ไร่

ข้อมูลอื่น ๆ

การสาธารณสุข

สถานที่อนามัยประจำตำบล/ หมู่บ้าน  (ตั้งอยู่หมู่ที่  1  บ้านนาไหม)            1    แห่ง

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน                                                             13   แห่ง

กลุ่ม ผสส./ อสม.                                                          13   แห่ง

กลุ่มสตรีแม่บ้าน                                                                     13   แห่ง

อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ                                             100  %

การคมนาคม

ถนนลาดยาง              5        สาย

ถนนลูกรัง/ดิน             36      สาย

การโทรคมนาคม                                                

ที่ทำการไปรษณีย์ (ศูนย์ประจำตำบล)       1      แห่ง

การไฟฟ้า

การไฟฟ้าเข้าทั่วถึงทั้ง  13  หมู่บ้าน  จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้  2,803  หลังคาเรือน

การประปา

ประชาชนมีน้ำประปาใช้ทั้งหมด  13  หมู่บ้าน

แหล่งน้ำธรรมชาติ

ลำน้ำ,  ลำห้วย                         23   สาย

บึง,  หนอง                             15   แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

ฝาย                                         23      แห่ง

บ่อน้ำดื่ม (บ่อขุด)                    156     แห่ง

บ่อโยก                                     41      แห่ง

บ่อบาดาล                              –           แห่ง

สระน้ำ                                     302     แห่ง

คลองส่งน้ำ                               19      แห่ง

อื่น ๆ (ถังเก็บน้ำ)                     32      แห่ง

จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)

มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เหมาะที่จะเป็นแหล่งจำหน่ายปลาน้ำจืด และพัฒนาเพื่อใช้ในการเกษตร และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอนาคต

Share: